ยินดีต้อนรับสู่ เมืองแห่ง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทเริ่มต้น ( ปฐมบท )

สืบเนื่องจากการศึกษาในหลักสูตร ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา
มีการศึกษาดูงาน ต่างประเทศ โดยในรุ่น 8 ได้มการเิดินทางไปศึกษาดูงาน
ณ เมืองเชียงตุง จึงเป็นเหตุให้มีข้อมูล ของเมืองเชียงตุง มาเล่าสู่กันฟัง...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน

ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

ตอบ ในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ คือ โรงเรียนบ้านคาวิทยา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีการนำระบบสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และในการบริหารงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายบริหารงานบุคคลและฝ่ายงบประมาณและแผน ซึ่งสามารถประยุกต์ระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนงานโดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้

1. ในการจัดการเรียนการสอน มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายและอินเทอร์เน็ต

มาช่วยในการเรียนการสอน เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงระบบบริหารงานห้องสมุด เป็นต้น

2. ฝ่ายวิชาการ มีการนำระบบสารสนเทศมาจัดทำฐานข้อมูลวิชาการ งานทะเบียนวัดผล

เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนข้อมูลรายวิชาที่เปิดสอนและนักเรียนลงทะเบียน จัดตารางสอน การกรอกผลการเรียนและคำนวณผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนการจัดทำสารสนเทศทางวิชาการของโรงเรียน เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายด้านวิชาการของโรงเรียน ต่อไป

3. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีการนำระบบสารสนเทศ มาใช้ในการจัดการงานธุรการและ

สารบรรณ มีการใช้ระบบเครือข่ายในการแชร์อุปกรณ์เพื่อใช้งานร่วมกัน มีการรับส่งหนังสือผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการจัดทำเว็บไซต์ื่อประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อกลางระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป

4. ฝ่ายบริหารงานบุคคล มีการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนประวัติเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ

พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ลูกจ้างประจำ คนงานทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้บริหารทราบข้อมูลด้านงานบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบุคลากรแต่ละประเภท วันเข้ารับราชการ วันเกษียณอายุราชการ ประวัติการเลื่อนขั้น เป็นต้น

5. ฝ่ายงบประมาณและแผน มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการ บริหารงานการเงิน

พัสดุ และจัดทำสารสนเทศของโรงเรียน มีการนำสารสนเทศมาใช้เพื่อประกอบการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียน

ขั้นตอน

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและขอความเห็นชอบและร่วมกำหนดยุทธ์ศาสตร์ ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารโรงเรียน

2 . ประชุมครูชี้แจงเพื่อให้บุคลากรรับทราบนโยบายและเห็นความสำคัญของการใช้สารสนเทศในการบริหารงานขององค์กรในด้านต่าง ๆ

3. จัดทำแผนการใช้สารสนเทศส่วนงานต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าส่วนงานใดจะใช้สารสนเทศด้านใด เพื่อจะได้ทราบว่าส่วนงานใดสามารถใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้บ้าง เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน

3. ออกแบบการจัดทำฐานข้อมูลของแต่ละส่วนงาน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

4. จัดการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการใช้งานระบบสารสนเทศขององค์กร

5 . ทดลองใช้ และปรับปรุง

จากกรอบความคิดและขั้นตอนในการจัดการระบบสารสนเทศข้างต้น จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการบริการจัดการงานด้านต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อความเป็นระเบียบในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและประมวลผล เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

แต่อย่างไรก็ตามในการใช้งานระบบสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ ยังขาดการเชื่อมโยงและมีการทำงานซ้ำซ้อนอยู่มาก โดยในแต่ละกระทรวงมีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเอง แต่ไม่มีการแชร์ฐานข้อมูล เพื่อลดการเก็บและกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ซึ่งบ่อยครั้งเจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติงานต้องจัดทำ กรอกข้อมูลประเภทเดียวกันหลายๆครั้ง ส่งให้กับหน่วยงานต้นสังกัด กรม กอง ต่างๆ แทนที่จะจัดทำ Data Center ของภาครัฐ และให้กระทรวง ทบวง กรม ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน จะเกิดประโยชน์และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานลงไปได้มาก

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด

ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการศึกษารายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 พบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถด้าน ICT เพื่อแข่งขันกับโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

มีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในส่วนภาคการศึกษา และบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆ รวมไปจนถึงการสร้างความเสมอภาค ในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ประชากรทุกส่วนในสังคม

มีการบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล โดยมีการจัดให้มีหน่วยงานกลางในการผลักดัน และขับเคลื่อนแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ มีการนำระบบ ICT มาใช้ในกระบวนการบริหารงานงบประมาณ ทั้งในด้านการจัดทำ เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานด้าน ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเครือข่าย เพื่อรองรับการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบท

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการภาครัฐ มีการกำหนดกรอบนโยบาย เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็น และมีมาตรฐานสอดคล้องในมาตรฐานสากลเพื่อรองรับการใช้งานฐานข้อมูลร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ ในการลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

มีการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม ICT ทั้งในด้านเงินทุนและมาตรฐานสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT

การใช้ ICT ในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันที่ยั่งยืน ส่งเสริมภาคการผลิตให้มีความสามารถยกระดับการนำICT มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนในICT เพื่อเปิดการค้าสู่ในตลาดโลกที่ไร้พรมแดน

กล่าวโดยสรุปแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 2556) ของรัฐบาลไทย จะเปิดประตูสู่ยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ทั้งในภาครัฐและประชาชน ลดขั้นตอนการทำงาน การจัดสรรงบประมาณได้ตรงตามความต้องการของประชาชน ลดช่องว่างในการรับรู้ข่าวสาร การศึกษา ของประชาชน เพิ่มศักยภาพและช่องทางใหม่ๆ ในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในระดับ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็ก

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม

ตอบ เห็นด้วยกับเห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมถึงเครือข่ายได้ง่ายต่อการเข้าถึง และยากต่อการตรวจสอบ โดยขอสรุปประเด็นที่สำคัญ ที่น่าสนใจ ดังนี้

มาตรา 26 ผู้ให้บริการ เช่น ISP หรือเว็บไซต์ ให้เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ในส่วนที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับ งาน ของตนเท่านั้น ไว้อย่างน้อย 90 วัน แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บเพิ่มได้แต่ไม่เกิน 1 ปี เช่น ข้อมูลมาตรฐาน ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บ log file (ประมาณ access log) แต่ ถ้าเป็นเว็บบอร์ด การจัดเก็บ IP ก็เพียงพอแล้วในกรณีนี้หากผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตาม มีโทษ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท อย่างไรก็ตามกรณีที่ต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการนั้น ในที่ประชุมได้มีการชี้แจงและอธิบายว่า การเก็บนั้นเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ คือ การเก็บ IP address หรือ จัดให้ มีการ Log in ถือว่าเป็นมาเป็นมาตรการการป้องกันและใช้ได้ตาม พ.ร.บ. นี้ ซึ่งใน พ.ร.บ. นี้ ไม่ได้บังคับให้ต้องเก็บ เลขบัตรประจำตัวประชาชน

เจ้าของระบบคอมพิวเตอร์ไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป มีโทษ จำคุก ไมเกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 5)

แอบ ไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แล้วนำไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆรู้ มีโทษ จำคุกไมเกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 6)

ข้อมูล ของผู้อื่น ซึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของหรือลักลอบเอามา (ขโมย) มีโทษจำคุกไมเกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท (มาตรา 7)

ผู้อื่นส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา มีโทษจำคุกไมเกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 8)

ข้อมูลของผู้อื่นอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ หากผู้ใดมือบอนไปทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง แก้ไข มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 9)

ระบบ คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานอยู่ดี ๆ หากผู้ใดดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm เข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่นเสียหาย มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 10)

หากผู้อื่นไม่ได้ อยากได้ข้อมูลหรืออีเมล์จากเรา เราก็ทำการเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ (โดยปกปิดหรือปลอมแหล่งที่มา) จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท(มาตรา 11)

ถ้าผู้ใดทำผิดตามมาตรา 9 กับ มาตรา 10. แล้วมันสร้างความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าทันทีหรือไม่ มีโทษจำคุกไมเกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท (มาตรา 12 (1))

หากผู้ใดสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้บุคคลอื่นหรือตน ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 ถึงมาตรา 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไมเกิน 20,000 บาท (มาตรา 13)

ผู้ใดกระทำความผิด เช่น ปลอมแปลงข้อมูล ทั้งหมดหรือบางส่วน (phishing), แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของชาติ ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจ เช่นการ ส่งเมล์เรื่องการก่อการร้าย (ไปต่อ ต่อ กัน), โป๊, โกหก, ท้าทายอำนาจรัฐ มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 14)

ผู้ให้บริการ จงใจ ยินยอม ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ก็ได้รับโทษเช่นกัน คือ จำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ผู้ใดส่งภาพ การตัดต่อ ดัดแปลง ส่งต่อภาพผู้อื่น หรือข้อความ ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกียดชัง อับอาย จำคุกไมเกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 16) แต่อย่างไรก็ตามหาก เป็นการกระทำไปโดยสุจริต เช่นไม่ทราบถึงการดัดแปลงภาพ นั้นว่ามีมาก่อน ผู้กระทำไม่มีความผิด

ผู้ใดทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หรือมีสัญชาติไทย ก็ผิดตาม พ.ร.บ. นี้

ผู้กระทำความผิด (หมายถึง ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ ตามคำพระราชบัญญัตินี้) หากเป็น คนต่างด้าวรัฐบาลไทย หรือ ผู้เสียหายที่เป็นคนไทยสามารถร้องขอให้ลงโทษได้

สรุปได้ว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำความผิดที่ได้กระทำ ความผิดขึ้น ผลของกฎหมายฉบับนี้ ทำให้หลายฝ่ายต้องมีการปรับตัวกันอย่างหนัก โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยว กับคอมพิวเตอร์ จำนวนมากมาย (มหาศาล) เราต้องไม่ลืมว่า ในขณะนี้ มีมนุษย์ที่อยู่ในโลกออนไลน์จำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะในสังคมไทย พบว่าในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนกว่า ๗ ล้านคน และหากพิจารณาจากประชากรที่เข้าใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกกว่า ๑ พันล้านคน นั่นหมายความว่า เรากำลังเผชิญกับจำนวนของบุคคลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากมาย ประกอบกับรูปแบบของการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีวิธีการหลากหลายมากขึ้น กระบวนการไล่จับแบบตำรวจไล่จับขโมยนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ยืนบนความยากมากขึ้นกฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หลังจากเกิดการ กระทำความผิดเกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องสร้างกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเผ้าระวังสื่อ ออนไลน์ และแจ้งเหตุไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อลดปัญหาการด้านจำนวนและพฤติกรรมของการกระทำความผิด คงต้องเร่งสร้างกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เกิดจริยธรรม ที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งคงต้องรีบส่งสัญญาณไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม ที่จะร่วมกันพัฒนากฎเกณฑ์และนโยบายเชิงรูปธรรมในการปลูกฝังจริยธรรมที่ดีใน การใช้อินเทอร์เน็ตหมายความว่า เราต้องเร่งสร้างการจัดการที่ต้นเหตุ และ ปลายเหตุไปพร้อมกัน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราคงได้เห็นผู้กระทำความผิดเต็มห้องขัง พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ว่างเว้นจากการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ทั้ง เว็บไซต์ลามกอนาจาร การดูหมิ่น หมิ่นประมาท การใช้ เข้าถึงข้อมูล ระบบ เครือข่ายโดยมิชอบ ซึ่งจะเพิ่มรูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น

----------------------------------------------

นายธนา คงอยู่ เลขที่ 11

ป.บัณฑิตการบริหารการศึกษา รุ่น 8

.............................................................................

เมืองแห่ง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู

เชียงตุงได้รับสมญานามว่าเมืองแห่ง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู เมืองแห่ง 3 จอม หมายถึง เนินเขา เชียงตุงมีจอมจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ จอมทอง (จอมคำ) อันเป็นที่ตั้งขอวัดพระธาตุจอมคำที่เคารพสักการะของคนเชียงตุง จอมมนอันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมมน ปัจจุบันพม่าสร้างพระพุทธรูปยืน คนไตเขินเรียกว่าพระเจ้าจี้(พระชี้นิ้ว)ตระหง่านหันหน้าและชี้พระหัตถ์มายังพระธาตุจอมคำ และจอมสักอันเป็นที่ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเรียกว่า ไม้หมายเมือง ที่เชื่อถือของชาวเชียงตุงเช่นกัน ต้นไม้ยางใหญ่ปลูกโดยเจ้าอลองพญา ในปีพ.ศ.2290 (..1115) สูง 218 ฟุต รอบฐานกว้าง 39 ฟุต เป็นตั้งของหมู่บ้านขาวชาวเผ่าอาข่า(อีก้อ) และที่ตั้งค่ายทหารพม่า

เมืองแห่ง 7 เชียง เชียง หมายถึง บ้าน ซึ่งหมู่บ้านในเชียงตุงมีขึ้นด้วยเชียงมีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ เชียงงาม เชียงจัน เชียงลาน เชียงขุ่ม เชียงอิน เชียงยืน และเชียงจิน

เมืองแห่ง 9 หนอง หมายถึง หนองน้ำ

ในเชียงตุงมีหนองน้ำจำนวน 9 หนอง ได้แก่ หนองตุง หนองโตง หนองเย หนองแล้ว หนองยาง หนองโปง หนองเข้ หนองไค้ และหนองตาช้าง

เมืองแห่ง 12 ประตู เชียงตุงมีประตูเมืองในจุดสำคัญ ๆ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ ประตูป่าแดง ประดูเชียงลาน ประตูง่ามฟ้า ประตูหนองผา ประตูแจ่งเมือง ประตูยางคำ ประตูหนองเหล็ก ประตูน้ำบ่ออ้อย ประตูยางเพิ่ง ประตูไก่ไห้ ประตูผายั้ง และประตูป่าม่าน (ที่มาโดย : ประชาไท วันที่ : 24/3/2550 )

ประวัติ

ประวัติเริ่มแรกของเมืองนั้นไม่ค่อยจะแน่ชัดมากเท่าไรนัก แต่มีตำนานเล่าขานกันว่า
เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ท่วมเมือง ไม่มีที่จะไปเนื่องจากเป็นแอ่ง แต่ว่ามีฤๅษีนามว่า ตุงคฤๅษี
แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้นำไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำให้เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง
อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง เป็นแว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้
และ มีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริง หรือ เท็จ

นครเชียงตุง

พงศาวดารของเมืองได้กล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราช 791 (พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่า
และทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัยมาก
จึงวินิจฉัยสั่งให้ข้าราชบริพารสลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้แบกธนูไว้บนยอดดอยที่เห็นเมือง หลังจากนั้น
พระองค์ก็เสด็จกลับมาเมืองเชียงรายแล้วทรงส่งกองทัพ มีแม่ทัพนามว่าขุนคง และ ขุนลัง ให้มาชิงเมืองเชียงตุง
จากชาวลัวะแต่ก็ไม่สำเร็จ พระองค์จึงส่ง มังคุม และ มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะที่อาศัยอยู่กับพระองค์มารบอีกครั้ง
ปรากฏว่าก็ได้ชัยชนะ พญามังรายจึงมอบให้ มังคุม และ มังเคียน ปกครองเมืองเชียงตุง
ภายหลังเมื่อมังคุมมังเคียนสิ้นชีวิต พญามังรายจึงส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786
เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" หรือ "เมืองลูกหลวง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา
ตามหลักฐานทั้งหลาย ได้ระบุไว้ว่ามีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 33 พระองค์ พระองค์สุดท้ายคือ "เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง"
จากหนังสือ "ตำนานมังราย เชียงใหม่ เชียงตุง" ซึ่งจารึกอยู่ในหนังสือใบลานของวัดอุโมงค์ อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อความของเอกสารดังกล่าวได้แบ่งออกเป็น 2 ตอนใหญ่ ๆ

ตอนแรกจากหน้าลานที่ 1 - 22 กล่าวถึงพญามังรายมหาราช จนกระทั่งถึงพระยาผายู ซึ่งอยู่เสวยราชย์ในเมืองนพบุรีศรี
พิงไชย เชียงใหม่ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่) มีอายุยืนได้ 70 ปี ก็จุติตายไป พระยาผายูตายปีเปิกเล็ด ศักราชได้ 899
ตอนที่ 2 เริ่มตั้งแต่หน้าลานที่ 22 - 46 เริ่มตั้งแต่พระยาลัวะจักรราชจนถึงตอนที่เจ้าหม่อมมหาวัง (เจ้าเมืองเชียงรุ้ง)
สิ้นพระชนม์ เป็นการเท้าเป็นการย้อนราชนิกูรของพญามังราย ไปจนถึงเมืองในอาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรรอบๆ
สิ่งที่น่าสนใจตอนหนึ่งในหนังสือเรื่องนี้ คือการกล่าวถึงเมืองเชียงตุงในอดีต ซึ่งระบุว่า มังคุ่มครองเมืองได้ 17 ปี
ก็สิ้นชีพ และ มังเคียนครองเมืองได้ 7 ปี ก็เสียชีวิต หลังจากนั้น เมืองเชียงตุงจึงเป็นเมืองร้าง เป็นเวลา 10 ปี
พญามังรายจึงส่ง พระยานาถะมู ไปครองเชียงตุงในปี จ.ศ.833 (พ.ศ. 1814)
หลังจากนั้นพระยานาถะมูจึงโปรดให้สร้างเวียงเชียงเหล็กในปีต่อมา
ในปีต่อๆมา ชาวลัวะได้ลุกลามเมือง และ ทดน้ำไปสู่เมือง เพื่อจะให้เมืองน้ำท่วม พระยานาถะมูเจ้าเมืองในขณะนั้นจึงสิ้นพระชนม์
ครองเมืองได้ 14 ปี พระยาน้ำท่วมกินเมืองแทนพ่อในปี จ.ศ. 845

เชียงตุง ในช่วงที่เชียงใหม่ มีอิทธิพล

ในปี จ.ศ. 891 พระยาผายู (พ.ศ. 1889-1898) กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่
ได้ส่งพระโอรสไปครองเมืองเชียงตุง คือ พระยาเจ็ดพันตู โหรของพระองค์ได้ทำนายไว้ว่า
"เมืองเชียงตุงเป็นเมืองนามจันทร์ น้ำไหลจากทางทิศใต้ไปทิศเหนือ ผู้หญิงกินเมืองดี ถ้าผู้ชายกินเมืองให้เลี้ยงเจนเมือง 500 นา
และสร้างเจดีย์เป็นชื่อเมืองจึงจะดี" ในการเสด็จไปครองเมืองเชียงตุงในครานั้น พระยาเจ็ดพันตูจึงทรงได้นำเอาช้างม้า
คนพลติดตามไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระไตรปิฎกและพระสงฆ์ 4 รูป คือ พระมหาธัมมไตร จากวัดพระแก้วเชียงราย
พระธัมมลังกา วัดหัวข่วง พระทสปัญโญ วัดพระกลาง พระมหาหงสาวดี วัดจอมทอง เมืองเชียงใหม่
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเชียงตุงและเชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย จึงสามารถแบ่งได้ง่ายว่าดังนี้
ในสมัยแรกเป็นแบบเครือญาติ และ ขุนนาง ในตองกลาง ขุนนางปกครอง และ ยุคสุดท้ายราชวงศ์ก็ได้กลับมาปกครองอีกครั้ง
ในสมัยพญากือนาถึงสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. 1898-2068) ซึ่งเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรล้านนา
เป็นช่วงที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาใหม่ๆ ความสัมพันธ์นั้นแน่นแฟ้นมากๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากเชียงใหม่สู่เชียงตุง
ไปถึงเชียงรุ่ง จึงเป็นไปได้โดยง่าย แบ่งได้เป็น 2 ตองใหญ่ๆ คือ ในนสมัยพญากือนาพระสงฆ์นิกายรามัญวงศ์ (พม่า ผสม มอญ)
จากวัดสวนดอก และ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช นิกายสิงหล (สุโขทัย อยุธยา) จากวัดป่าแดง
ได้ออกเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ขชาวเมืองได้รู้ ไม่ใช่แต่ศาสนาอย่างเดียว วัฒนธรรม ตัวอักษร และ ภาษา
ก็ออกไปเผยแพร่ด้วย ดังนั้นตัวเมืองของล้านนา และ ตัวเขียนของไทเขินจึงใกล้เคียงกันมาก

เชียงตุงในสมัยปฏิวัติ และ สงครามโลก

เจ้าฟ้าอินแถลง เจ้าครองนครเชียงตุงองค์สุดท้าย
เชียงตุงในสมัยนี้ ทำให้เกิดเจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเชียงตุง พระนามว่า เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง
หรือ เจ้าอินแถลง ซึ่ง อยู่ร่วมสมัยกับ รัชกาลที่ 5 ของไทย พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคม
ของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของชาวสยาม
โดยมีความช่วยเหลือ จากญี่ปุ่น มีข้ออ้างว่ามีประวัติ และ เชื่อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไปโจมตีและปกครอง
เมืองตองยี และ สิบสองปันนาอีกด้วย แต่ไทยก็มิได้ปกครองโดยตรง ญี่ปุ่นช่วยให้บริเวณเมืองเชียงตุง และ
เมืองพานมาร่วมเข้ากับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็น สหรัฐไทยเดิม แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 ปี
ก็ต้องคืนกลับให้แก่อังกฤษเหมือนเดิม เพราะว่าญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม